รัฐโอฑิศา

โอฑิศา [โอ-ดิ-สา] (โอเดีย: ଓଡ଼ିଶା, ออกเสียง: [oɽiˈsa] ( ฟังเสียง)) เป็นรัฐในทางตะวันออกของประเทศอินเดีย มีอาณาเขตติดต่อกับรัฐเบงกอลตะวันตกและรัฐฌารขัณฑ์ทางเหนือ รัฐฉัตตีสครห์ทางตะวันตก และรัฐอานธรประเทศทางใต้ รัฐโอฑิศามีชายฝั่งยาว 485 กิโลเมตร (301 ไมล์) ไปตามอ่าวเบงกอล[9] มีพื้นที่มากเป็นอันดับแปดของอินเดีย และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 11 มีประชากรชนเผ่าที่ได้รับการรับรองแล้วมากที่สุดเป็นอันดับที่สามของประเทศอินเดีย[10]

รัฐโอฑิศา
Clockwise from top right: Puri Beach, วัดมุกเตศวร ภุพเนศวร, Bhitarkanika National Park, Dhauli, ทะเลสาบชิลิกา, ชคันนาถมนเทียร, Rajarani Temple, มหานที, Hirakud Dam, Khandadhar Falls (Sundargarh), โกณารักสูรยมนเทียร
โลโกอย่างเป็นทางการของรัฐโอฑิศา
ตรา
เพลง: วันเทอุตกลชนนี
(ข้าขอถวายเคาระแด่พระมารดาอุตกล!)
ที่ตั้งของรัฐโอฑิศา
พิกัด (Bhubaneswar): 20°16′N 85°49′E / 20.27°N 85.82°E / 20.27; 85.82พิกัดภูมิศาสตร์: 20°16′N 85°49′E / 20.27°N 85.82°E / 20.27; 85.82
ประเทศ อินเดีย
ตั้งรัฐ1 เมษายน 1936
(Utkala Divasa)
เมืองหลวงและ
เมืองใหญ่สุด
ภุพเนศวร[2]
อำเภอ30
การปกครอง
 • องค์กรรัฐบาลรัฐโอฑิศา
 • ผู้ว่าการรัฐคเณศี ลาล
 • มุขยนายกนวีน ปัตนาอิก (BJD)
 • นิติบัญญัติสภาเดี่ยว (147 ที่)
 • รัฐสภาโลกสภา (21 ที่)
ราชยสภา (10 ที่)
 • ศาลสูงศาลสูงโอฑิศา
พื้นที่
 • ทั้งหมด155,707 ตร.กม. (60,119 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่ที่ 8
ประชากร
 (2011)
 • ทั้งหมด41,974,218[1] คน
 • อันดับที่ 11
เดมะนิมชาวโอริยา (โอเดีย)
จีดีพี (2017–18)[3]
 • รวม4.16 แลกห์โคร (1.8 ล้านล้านบาท)
 • ต่อหัว80,991 (34,000 บาท)
เขตเวลาUTC+05:30 (IST)
รหัส ISO 3166IN-OR
เอชดีไอ (ค.ศ. 2018)เพิ่มขึ้น 0.606[4]
ปานกลาง · อันดับที่ 32
การรู้หนังสือ73.45%[5]
ภาษาทางการภาษาโอริยา[6]
เว็บไซต์www.odisha.gov.in
สัญลักษณ์ของรัฐโอฑิศา
ตรา
ม้าโกนารัก
ภาษา
ภาษาโอริยา
เพลงวันเทอุตกลชนนี
การแสดง
โอริสซี
สัตว์
กวางซัมบาร์
สัตว์ปีก
Indian Roller[7][8]
ดอกไม้
ดอกอโศก
ต้นไม้
มะเดื่อชุมพร
อาหาร
ปขลา
ของหวาน
รสกุลลา

ศัพทมูลวิทยาแก้

คำว่า "โอฑิศา" (โอเดีย: ଓଡ଼ିଶା) มาจากคำภาษาปรากฤตโบราณว่า "Odda Visaya" (หรือ "Udra Bibhasha", "Odra Bibhasha") เช่นที่พบในจารึกของพระเจ้าราเชนทระโจฬะที่ 1 ที่ติรุมาลัย (திருமலை) ซึ่งเป็นวัดในศาสนาเชน โดยจารึกขึ้นในปี ค.ศ. 1025[11] สารฬา ทาส (ସାରଳା ଦାସ) ผู้แปลมหาภารตะเป็นภาษาโอเดียในคริสต์ศตวรรษที่ 15 เรียกภูมิภาค 'โอฑราราษฏระ (Odra Rashtra)' ว่าโอฑิศา ศิลาจารึกพระเจ้ากปิเฬนทราแห่งจักรวรรดิคชปติ (ค.ศ. 1435–67) บนผนังวัดในเมืองปุรีเรียกว่าภูมิภาคโอฑิศาหรือโอฑิศาราชยา[12]

ในปี ค.ศ. 2011 คำแปลเป็นภาษาอังกฤษของ ଓଡ଼ିଶା ได้เปลี่ยนจาก "Orissa" เป็น "Odisha" และเปลี่ยนชื่อภาษาจาก "Oriya" เป็น "Odia" จากการเสนอร่างรัฐบัญญัติเรื่องข้อความโอริสซา (การเปลี่ยนชื่อ) ค.ศ. 2010 และร่างรัฐบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญ (ครั้งที่ 113) ค.ศ. 2010 ในรัฐสภา คำแปลภาษาฮินดี उड़ीसा (uṛīsa) ได้ถูกแก้ไขเป็น ओड़िशा (oḍisha) ด้วย โดยโลกสภาได้ผ่านร่างแก้ไขกฎหมายหลังการอภิปรายสรุป เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 2010[13] และเมื่อวันที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 2011 ราชยสภาก็ผ่านคำแปลญัตติแก้ไขเพิ่มเติมร่างกฎหมาย[14] การเปลี่ยนแปลงการสะกดเกิดขึ้นเพื่อให้คำในภาษาอังกฤษและภาษาฮินดีสอดคล้องกับการถอดความจากภาษาโอเดีย[15]

ประชากรแก้

ประวัติจำนวนประชากร
ปีประชากร±% p.a.
190110,302,917—    
191111,378,875+1.00%
192111,158,586−0.20%
193112,491,056+1.13%
194113,767,988+0.98%
195114,645,946+0.62%
196117,548,846+1.82%
197121,944,615+2.26%
198126,370,271+1.85%
199131,659,736+1.84%
200136,804,660+1.52%
201141,974,218+1.32%
แหล่งข้อมูล:[16]

จากการสำรวจสำมะโนประชากรของอินเดียในปี ค.ศ. 2011 ประชากรทั้งหมดของรัฐโอฑิศามี 41,974,218 คน โดยเป็นผู้ชาย 21,212,136 คน (50.54%) และผู้หญิง 20,762,082 คน (49.46%) หรือผู้หญิง 978 คนต่อผู้ชาย 1,000 คน ซึ่งมีการเพิ่มขึ้นของประชากร 13.97% จากปี ค.ศ. 2001 โดยความหนาแน่นของประชากรอยู่ที่ 270 ต่อตารางกิโลเมตร[1]

อัตราการรู้หนังสืออยู่ที่ 73% โดยที่เพศชาย 82% และเพศหญิง 64% เป็นผู้รู้หนังสือ ตามการสำรวจสำมะโนประชากร ค.ศ. 2011

สัดส่วนของผู้คนที่ดำรงชีพอยู่ต่ำกว่าเส้นแบ่งความยากจนในปี ค.ศ. 2004–2005 อยู่ที่ 57.15% ซึ่งเกือบเป็นสองเท่าของค่าเฉลี่ยของประเทศอินเดียซึ่งอยู่ที่ 26.10% ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2005 โอฑิศาได้ลดอัตราความยากจนลงอย่างมากถึงร้อยละ 24.6 ตามการประมาณการในปัจจุบันสัดส่วนของผู้คนที่อยู่ภายใต้เส้นแบ่งความยากจนคือ 32.6%[17][18]

ข้อมูลปี ค.ศ. 1996–2001 แสดงให้เห็นว่าอายุขัยเฉลี่ยของประชากรในรัฐอยู่ที่ 61.64 ปี ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ โอฑิศามีอัตราการเกิด 23.2 ต่อ 1,000 คนต่อปี อัตราการเสียชีวิต 9.1 ต่อ 1,000 คนต่อปี อัตราการตายของทารก 65 ต่อการเกิดมีชีพ 1,000 คน และอัตราการเสียชีวิตของมารดา 358 ต่อ 1,000,000 การเกิดมีชีพ ในปี ค.ศ. 2018 โอฑิศามีดัชนีการพัฒนามนุษย์อยู่ที่ 0.606[19]

อ้างอิงแก้

  1. 1.0 1.1 "Population, Size and Decadal Change" (PDF). Primary Census Abstract Data Highlights, Census of India. Registrar General and Census Commissioner of India. 2018. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-19. สืบค้นเมื่อ 2020-06-16.
  2. "Cities having population 1 lakh and above, Census 2011" (PDF). Government of India. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 25 November 2014. สืบค้นเมื่อ 2 February 2015.
  3. "MOSPI Gross State Domestic Product". Ministry of Statistics and Programme Implementation, Government of India. 1 March 2019. สืบค้นเมื่อ 9 June 2019.
  4. "Sub-national HDI - Subnational HDI - Global Data Lab". globaldatalab.org. สืบค้นเมื่อ 2020-04-17.
  5. "State of Literacy" (PDF). Census of India. p. 110. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 6 July 2015. สืบค้นเมื่อ 5 August 2015.
  6. "Report of the Commissioner for linguistic minorities: 47th report (July 2008 to June 2010)" (PDF). Commissioner for Linguistic Minorities, Ministry of Minority Affairs, Government of India. pp. 122–126. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 13 May 2012. สืบค้นเมื่อ 16 February 2012.
  7. "Palapitta: How a mindless dasara ritual is killing our state bird palapitta – Hyderabad News". The Times of India. 29 September 2017. สืบค้นเมื่อ 7 October 2019.
  8. http://magazines.odisha.gov.in/Orissareview/apr2005/englishpdf/bluelay.pdf
  9. "Coastal security". Odisha Police. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 February 2015. สืบค้นเมื่อ 1 February 2015.
  10. "ST & SC Development, Minorities & Backward Classes Welfare Department:: Government of Odisha". stscodisha.gov.in. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 September 2018. สืบค้นเมื่อ 10 December 2018.
  11. Patel, C.B (April 2010). Origin and Evolution of the Name ODISA (PDF). Bhubaneswar: I&PR Department, Government of Odisha. pp. 28, 29, 30. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 19 June 2015. สืบค้นเมื่อ 19 June 2015.
  12. Pritish Acharya (11 March 2008). National Movement and Politics in Orissa, 1920–1929. SAGE Publications. p. 19. ISBN 978-81-321-0001-0. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 January 2016. สืบค้นเมื่อ 3 February 2015.
  13. "Amid clash, House passes Bills to rename Orissa, its language". The Hindu. 9 November 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 October 2015. สืบค้นเมื่อ 2 February 2015.
  14. "Parliament passes bill to change Orissa's name". NDTV. 24 March 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 February 2015. สืบค้นเมื่อ 2 February 2015.
  15. "Orissa wants to change its name to Odisha". Rediff.com. 10 June 2008. สืบค้นเมื่อ 23 June 2020.
  16. Decadal Variation In Population Since 1901
  17. "India States Briefs – Odisha". World Bank. 31 May 2016. สืบค้นเมื่อ 12 July 2019.
  18. "NITI Aayog report: Odisha tops in poverty reduction rate among other states". Pragativadi: Leading Odia Dailly. 30 July 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-12. สืบค้นเมื่อ 12 July 2019.
  19. "Sub-national HDI - Subnational HDI - Global Data Lab". globaldatalab.org. สืบค้นเมื่อ 2021-03-31.
🔥 Top keywords: หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยอสมทพิเศษ:ค้นหาเห็ดขี้ควายนิโคลัส มิคเกลสันซน ฮึง-มินเฟซบุ๊กดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีลิโอเนล เมสซิวินัย ไกรบุตรต่อศักดิ์ สุขวิมลรุ่งนภา พงศ์ทิพย์สุคนธ์จักรภพ เพ็ญแขลิซ่า (แร็ปเปอร์)นนท์ อัลภาชน์จนกว่าจะได้รักกันสถิตย์พงษ์ สุขวิมลเรือนทาสพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวประเทศไทยสหรัฐFBสุภัคชญา ชาวคูเวียงประเทศจีนฟุตบอลทีมชาติไทยรายการรหัสไปรษณีย์ไทยรายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยคิม ซู-ฮย็อนศุภณัฏฐ์ เหมือนตาสงครามโลกครั้งที่สองรายชื่อจังหวัดของประเทศไทยเรียงตามพื้นที่ชาลี ไตรรัตน์ชัยวัฒน์ ชื่นโกสุมประเทศเวียดนามประเทศเกาหลีใต้ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2)คณาวุฒิ ไตรพิพัฒนพงษ์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)กรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลสัปเหร่อ (ภาพยนตร์)สุภโชค สารชาติพ.ศ. 2567ทวิตเตอร์มิสแกรนด์ไทยแลนด์ 2024ฟุตบอลทีมชาติอาร์เจนตินาฟุตบอลทีมชาติเกาหลีใต้รายชื่อโรงเรียนในกรุงเทพมหานครหอแต๋วแตก (ภาพยนตร์ชุด)ฟุตบอลโลกราชมังคลากีฬาสถานพิศณุ นิลกลัดเอ็กซูม่าประเทศบราซิลรายชื่อโรงเรียนในจังหวัดนนทบุรีภรภัทร ศรีขจรเดชาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชญีนา ซาลาสเจนี่ อัลภาชน์รายชื่อตอนในยอดนักสืบจิ๋วโคนัน (แอนิเมชัน)ฟุตบอลทีมชาติอังกฤษนวลพรรณ ล่ำซำอสุภเรวัช กลิ่นเกษรพ.ศ. 2565คริสเตียโน โรนัลโดภาษาอังกฤษลภัสลัล จิรเวชสุนทรกุลเจนี่ อัลภาชน์ ณ ป้อมเพชรประเทศลาวเก็จมณี วรรธนะสินกุลฑีรา ยอดช่างแจ็กสัน หวัง4 KINGS 2รายพระนามและชื่ออธิบดีกรมตำรวจและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติของไทยเฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์ประเทศญี่ปุ่นคุณอาเรียโต๊ะข้างๆ พูดรัสเซียหวานใส่ซะหัวใจจะวายราชวงศ์จักรีฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024อี คัง-อินวชิรวิชญ์ ชีวอารีทักษิณ ชินวัตรสินจัย เปล่งพานิชประเทศกัมพูชาอุษามณี ไวทยานนท์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดอาณาจักรอยุธยาขอบตาแพะหัวใจไม่มีปลอมฐสิษฐ์ สินคณาวิวัฒน์รัญชน์รวี เอื้อกูลวราวัตรวรกมล ชาเตอร์ธิษะณา ชุณหะวัณ