งูสวัด

โรคติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง

โรคงูสวัด (อังกฤษ: shingles, herpes zoster) เป็นโรคติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยจะมีผื่นเป็นตุ่มน้ำและมีอาการเจ็บแสบเป็นบริเวณเฉพาะที่ มักขึ้นเป็นแถบที่ด้านใดด้านหนึ่งของลำตัวหรือใบหน้า ช่วง 2-4 วันก่อนมีผื่นมักจะมีอาการแสบคันหรือชาบริเวณที่จะมีผื่นขึ้น อาการอื่นๆ มักมีเพียงเล็กน้อย เช่น ไข้ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ผื่นมักหายเองได้ใน 2-4 สัปดาห์ ผู้ป่วยบางรายจะมีอาการปวดเส้นประสาทในบริเวณที่เคยเป็นผื่น ซึ่งอาจคงอยู่ได้เป็นเวลาหลายเดือนหรือหลายปี เรียกว่า ปวดเส้นประสาทเหตุงูสวัด (postherpetic neuralgia) ในรายที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องอาจมีผื่นขึ้นได้หลายตำแหน่ง หากเป็นที่ดวงตาอาจทำให้ตาบอดได้

งูสวัด
ชื่ออื่นShingles, zoster, herpes zoster, zona
ผู้ป่วยโรคงูสวัด มีรอยโรคเป็นตุ่มน้ำใสที่คอ
สาขาวิชาตจวิทยา
อาการผื่นตุ่มน้ำขึ้นเป็นแถบ มีอาการเจ็บปวด[1]
ภาวะแทรกซ้อนปวดเส้นประสาทเหตุงูสวัด [1]
ระยะดำเนินโรค2–4 สัปดาห์[2]
สาเหตุไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์ (VZV)[1]
ปัจจัยเสี่ยงอายุมาก, ภูมิคุ้มกันบกพร่อง, เคยเป็นอีสุกอีใสเมื่ออายุน้อยกว่า 18 เดือน[1]
วิธีวินิจฉัยวินิจฉัยจากอาการ[3]
โรคอื่นที่คล้ายกันเริม, อาการปวดเค้นหัวใจ, แมลงกัดต่อยs[4]
การป้องกันวัคซีนงูสวัด[1]
ยาอะไซโคลเวียร์ (ให้ตั้งแต่เริ่มแสดงอาการ), ยาแก้ปวด[3]
ความชุก33% (ตลอดชีวิต)[1]
การเสียชีวิต6,400 (นับรวมจากอีสุกอีใสด้วย)[5]

งูสวัดเกิดจากการกำเริบขึ้นของเชื้อไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์ (VZV) ที่คงอยู่ในร่างกายของผู้ป่วย เชื้อนี้หากได้รับครั้งแรกจะแสดงอาการเป็นโรคอีสุกอีใส เมื่อหายจากอีสุกอีใสแล้วไวรัสอาจคงอยู่ในเซลล์ประสาทได้ในสภาพไม่ทำงาน เมื่อไวรัสกลับมาเพิ่มจำนวนอีกครั้งก็จะแพร่จากตัวเซลล์ประสาทไปยังปลายประสาทที่ผิวหนัง ทำให้เกิดผื่นตุ่มน้ำ ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดไวรัสกำเริบนี้มีหลายอย่างเช่น อายุมาก ภูมิคุ้มกันบกพร่อง และการติดโรคอีสุกอีใสก่อนอายุ 18 เดือน กลไกของการที่ไวรัสสามารถคงอยู่ในร่างกายได้และสามารถกำเริบกลับเป็นงูสวัดได้นั้นยังไม่เป็นที่เข้าใจแน่ชัด หากผู้ที่ไม่เคยสัมผัสเชื้อมารับเชื้อจากผื่นงูสวัดอาจทำให้ป่วยเป็นโรคอีสุกอีใส แต่จะไม่ทำให้เป็นงูสวัด การวินิจฉัยส่วนใหญ่ทำได้โดยดูจากอาการและอาการแสดงของผู้ป่วย ไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์นี้เป็นเชื้อคนละชนิดกับไวรัสเฮอร์ปีส์ซิมเพล็กซ์หรือไวรัสเริม แต่ทั้งสองชนิดนี้เป็นไวรัสในแฟมิลีเดียวกัน

วัคซีนของเชื้อนี้ลดโอกาสการเกิดงูสวัดได้ 50-90% ขึ้นกับชนิดวัคซีน นอกจากนี้แล้วยังลดโอกาสการปวดเส้นประสาทเหตุงูสวัดได้ และลดความรุนแรงของโรคได้ด้วย ยาต้านไวรัสเช่นอะไซโคลเวียร์สามารถลดความรุนแรงและระยะเวลาของการเป็นโรคได้ หากได้เริ่มยาภายในเวลา 72 ชั่วโมง หลังผื่นขึ้น ยังไม่มีหลักฐานสนับสนุนว่าการใช้ยาต้านไวรัสหรือการใช้สเตอรอยด์จะลดโอกาสเกิดอาการปวดเส้นประสาทได้ ยาแก้ปวดต่างๆ เช่น พาราเซตามอล ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ และยาแก้ปวดอนุพันธุ์ฝิ่น สามารถช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดจากโรคได้ โดยเฉพาะในระยะเฉียบพลัน

มีการประมาณไว้ว่ามนุษย์ประมาณหนึ่งในสามจะได้ป่วยเป็นโรคงูสวัดสักครั้งหนึ่งในชีวิต โรคนี้ส่วนใหญ่จะพบในคนอายุมาก แต่ในเด็กก็สามารถเป็นได้เช่นกัน จำนวนผู้ป่วยรายใหม่ต่อปีอยู่ที่ประมาณ 1.2-3.4 ต่อ 1000 คน-ปี ในกลุ่มคนสุขภาพดี และจะอยู่ที่ 3.9-11.8 ต่อ 1000 คน-ปี ในกลุ่มคนอายุมากกว่า 65 ปี ในผู้ที่มีอายุ 85 ปี ประมาณครึ่งหนึ่งจะเคยเป็นโรคนี้มาแล้ว และจำนวนไม่ถึง 5% จะเคยเป็นมาแล้วมากกว่าหนึ่งครั้ง โรคนี้เป็นที่รู้จักดีมาตั้งแต่สมัยโบราณ

พยาธิวิทยา และพยาธิกำเนิดของโรคแก้

การติดเชื้อครั้งแรก (Primary infection)แก้

มักติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ไวรัสจะเพิ่มจำนวนบริเวณ Nasopharynx (คอหอยหลังโพรงจมูก) แล้วเข้าสู่ reticuloendothelial system จากนั้นจะเข้าไปในกระแสเลือด เกิดเป็น Viremia ซึ่งจะทำให้มีการติดเชื้อทั่วร่างกาย มีอาการแสดงออกทางผิวหนังเป็นตุ่มใส (vesiculopapula skin lesion) หรือที่รู้จักกันว่าเป็น โรคอีสุกอีใส

ช่วงนี้จะสามารถตรวจพบเชื้อได้จากเลือดของผู้ป่วย นอกจากนี้จะตรวจ DNA ของไวรัสได้จากรอยโรคบนผิวหนัง (skin lesion) หรือ จากเลือด โดยวิธี PCR

ในทางเนื้อเยื่อวิทยา (Histology) ถ้าตรวจรอยโรคจะพบ เซลล์ที่บวมขึ้น , multinucleated giant cells ,eosinophilic intranuclear inclusions,มีเนื้อตาย และเลือดออก ต่อมา น้ำในตุ่มจะขุ่นขึ้น เนื่องจาก polymorphonuclear leukocytes ที่กินเซลล์ที่ติดเชื้อ รวมทั้ง fibrin และซากเซลล์ ปะปนกัน สุดท้าย ตุ่มน้ำจะแตกออก ปล่อยของข้างในออกมา รวมทั้งไวรัสด้วย

การติดเชื้อซ้ำ (Recurrent infection)แก้

สำหรับกลไกการติดเชื้อซ้ำของ VZV (โรคสุกใส) ที่ทำให้เป็นโรคงูสวัด (Herpes Zoster) ในภายหลังนั้นยังไม่แน่ชัด แต่เท่าที่ทราบคือ VZV จะไปซ่อนตัวหลังการเป็นโรคสุกใสที่ปมประสาทรากบนของไขสันหลัง (Dorsal root ganglion) จนกระทั่งออกมาติดเชื้อซ้ำอีก ตามแนวที่ปมประสาทนั้นเลี้ยงอยู่ (ตาม dermatome) จึงเกิดผื่นเหมือนโรคสุกใส แต่จะเป็นตามแนว dermatome

โดยในการตรวจทางเนื้อเยื่อวิทยา (Histopathologic examination) พบว่า Dorsal root ganglion มีลักษณะ บวม เลือดออก และมี lymphocytes อยู่มาก

โรคนี้สามารถติดเชื้อในอวัยวะอื่นได้ในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIVs ผู้ที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน เป็นต้น เช่นการติดเชื้อในปอดจะพบปอดอักเสบ (interstitial pneumonitis) , multinucleated giant cell, intranuclear inclusions และเลือดออกในปอด (pulmonary hemorrhage) หากติดเชื้อในระบบประสาทส่วนกลาง (Central nervous system ) อาการจะคล้ายโรคหัด (measles) และ สมองอักเสบจากไวรัส (viral encephalitides) อื่นๆ

ส่วนการตายของเนื้อสมองและมีเลือดออกซึ่ง คล้ายโรค herpes simplex virus (HSV) encephalitis นั้น พบได้น้อย

อาการแก้

จะมีอาการปวดอย่างมากบริเวณที่เป็นงูสวัด เจ็บแสบๆ ร้อนๆ บางคนมีอาการคันร่วมด้วยหรือเป็นไข้ได้ บางคนทรมานจากอาการปวดมากจนนอนไม่หลับ เมื่อเป็นอาการแดง มีผื่นขึ้น และบริเวณที่เป็นจะมีกลุ่มของตุ่มน้ำในผิวหนัง ต่อมาตุ่มน้ำจะเริ่มแห้งและตกสะเก็ดจางหายไป ระยะเวลาตั้งแต่เป็นจนหายไปประมาณ 7-14 วัน

ในเด็ก โรคนี้จะไม่รุนแรง เท่าผู้ใหญ่

ลักษณะผื่นแก้

2-3 วันแรก จะมีอาการ ปวดแสบปวดร้อน หรือคัน ตาม dermatome เรียก zoster-associated pain และ ระดับ T3 to L3 มักพบได้มาก

ต่อมาจะมีผื่นขึ้นแบบ erythematous maculopapular rash ขึ้นไม่มาก อยู่ประมาณ 3-5 วัน

รวมระยะเวลาแล้ว คือ 7-10 วัน

เพราะฉะนั้น จะเห็นเป็นทางขวางตามลำตัวด้านหน้า ด้านหลัง รอบเอว ตามแนวเส้นประสาทตามยาวที่แขนและขา หรือตามแนวเส้นประสาทที่บริเวณใบหน้า นัยน์ตา หู ศีรษะ เป็นต้น หากลามเข้าที่ตาแล้วจะทำให้ตาบอด (จาก ophthalmic branch of the trigeminal nerve ทำให้เกิด zoster ophthalmicus )

งูสวัด ไม่สามารถจะพันตัวเรา จนครบรอบเอวได้เพราะแนวเส้นประสาทของตัวเรา จะมาสิ้นสุดที่บริเวณกึ่งกลางลำตัวเท่านั้น ในคนธรรมดาที่มีภูมิต้านทานปกติ งูสวัดจะไม่ลุกลามเข้ามาแนวกึ่งกลางลำตัวไปอีกซีกหนึ่ง ของร่างกาย (ยกเว้นในกรณีที่มีภูมิต้านทานต่ำ เช่น โรคเอดส์ เป็นต้น ถ้าเกิดเป็นงูสวัด ก็อาจปรากฏขึ้นสองข้างพร้อมกัน ดูเหมือนงูสวัดพันข้ามแนวกึ่งกลางลำตัวไปอีกซีกหนึ่งของร่างกายได้ หรือเป็นงูสวัดทั่วร่างกายได้)

อาการต่อเนื่องแก้

แผลที่เกิดขึ้น จะสามารถหายสนิทเป็นปกติในเวลาประมาณ 2-4 สัปดาห์

อาการปวดตามแนวเส้นประสาทระยะจากที่โรคงูสวัดหายแล้ว (post herpetic neuralgia) คืออาการปวดเจ็บแสบร้อนตามแนวเส้นประสาทนี้ ถึงแม้ว่า ผื่นงูสวัดหายไปแล้ว แต่ก็ยังคงมีอาการปวดแสบร้อนอยู่ บางรายเป็นอยู่หลายเดือนทำให้ทรมานพอสมควร มักพบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป

อาการแทรกซ้อนแก้

สำหรับอาการแทรกซ้อนที่สำคัญคือ อาการปวดเกิดขึ้นภายหลังจากผื่นหายหมดแล้ว มักเกิดกับผู้สูงอายุที่เป็นงูสวัดบริเวณประสาทสมองคู่ที่ 5 อาจมีการติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณผื่น หรือโรคแทรกซ้อนทางตา เช่นตาอักเสบ เส้นประสาทตาอักเสบ หรือ แผลที่กระจกตา ในกรณีของผู้ป่วยที่ภูมิต้านทานต่ำ เช่น เป็นโรคเอดส์ หรือผู้ป่วยที่ได้รับยากดอิมมูน อาจมีการกระจายของผื่นทั่วตัวได้ แพทย์บางท่านอาจจะให้ยาฆ่าเชื้อไวรัสชนิดรับประทานเป็นเวลาประมาณ 5-10 วันร่วมด้วย ทั้งนี้ต้องอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ผู้รักษา

การวินิจฉัยแยกโรคแก้

  • HSV infection ---มี atopic dermatitis (เป็นตาม dermatome)
  • Coxsackievirus infection (เป็นตาม dermatome) , Echovirus infection, หรือ Atypical measles----ตุ่มน้ำมักจะมีเลือดออกร่วมด้วย
  • Rickettsialpox----"herald spot" เป็นจุดที่ริ้นกัด และมักมีอาการปวดศีรษะร่วมด้วย สามารถใช้วิธีทางน้ำเหลืองวิทยา (serologic test) ในการตวจสอบได้
  • Smallpox --- รอยโรค (Skin lesion) จะมีขนาดใหญ่กว่า
  • ทั้ง HSV infections และ coxsackievirus จะมีรอยโรคเป็นตาม dermatome ทั้งคู่ ดังนั้นจึงต้องใช้วิธีอื่นในการวินิจฉัยแยกโรคเช่น Supportive diagnostic virology , fluorescent staining of skin scrapings with monoclonal antibodies

สำหรับการวินิจฉัยก่อนที่จะเกิดผื่นนั้น ยังไม่สามารถทำได้ ต้องรอให้ให้เกิดผื่นก่อนจึงจะสามารถวินิจฉัยได้

การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการแก้

  • Isolation of VZV in susceptible tissue-culture cell lines
  • Four-fold rising antibody titer
  • ตรวจ Varicella-Zoster หรือ Herpes-Zoster DNA ด้วย PCR (Polymerase Chain Reaction)
  • Tzanck smear---ขูดแผลไปย้อมดู multinucleated giant cells วิธีนี้มี sensitivity ต่ำ (ประมาณ 60%)
  • Direct immunofluorescent
  • immunofluorescent detection of antibodies to VZV membrane antigens -----sensitivity สูง และใช้กันมาก
  • immune adherence hemagglutination
  • Enzyme-linked immunosorbent assay (ELISA) ---sensitivity สูง และใช้กันมาก

วิธีรักษาโรคงูสวัดแก้

  1. รักษาตามอาการคือ กินยาระงับอาการปวด อาการคัน เช่น พาราเซตามอล ไอดาแรค พอนสแตน คลอเฟนนิรามีน ฯลฯ ไม่ควรใช้ aspirin ในเด็กที่อายุต่ำกว่า 12 ปี
  2. ยาต้านไวรัส ช่วยระงับอาการได้และทำให้ระยะเวลาของโรคสั้นลงและลดการเกิด PHN ได้แก่
    1. Acyclovir 800 มก. รับประทานวันละ 5 ครั้ง ทุก 4 ชั่วโมง เป็นเวลาอย่างน้อย 5-7 วัน (ในเด็ก 20 mg/kg ทุก 6 ชั่วโมง)
    2. Valacyclovir (the prodrug of acyclovir) 1000 กรัม รับประทานวันละ 3 ครั้ง 5-7 วัน
    3. Famcyclovir (prodrug of penciclovir) 500 มก.ในประเทศสหรัฐอเมริกา หรือ 250 มก. ในประเทศอื่นๆ รับประทานวันละ 3 ครั้ง 7 วัน
  3. ยาทากลุ่มฆ่าเชื้อไวรัส เป็นกลุ่มยาอะไซโคลเวียร์
  4. ยาทาพวกเสลดพังพอน ใช้ทาระงับอาการได้ดีพอสมควร ราคาไม่แพง

อ้างอิงแก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 Lopez A, Harrington T, Marin M (2015). "Chapter 22: Varicella". ใน Hamborsky J, Kroger A, Wolfe S (บ.ก.). Epidemiology and Prevention of Vaccine-Preventable Diseases (13th ed.). Washington D.C.: U.S. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). ISBN 978-0990449119. บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
  2. "Shingles (Herpes Zoster) Signs & Symptoms". Centers for Disease Control and Prevention (CDC). May 1, 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 May 2015. สืบค้นเมื่อ 26 May 2015. บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
  3. 3.0 3.1 Cohen, JI (18 July 2013). "Clinical practice: Herpes zoster". The New England Journal of Medicine. 369 (3): 255–63. doi:10.1056/NEJMcp1302674. PMC 4789101. PMID 23863052.
  4. Kahan, Scott (2003). In a Page Medicine (ภาษาอังกฤษ). Lippincott Williams & Wilkins. p. 215. ISBN 9781405103251.
  5. GBD 2015 Mortality and Causes of Death Collaborators (8 October 2016). "Global, regional, and national life expectancy, all-cause mortality, and cause-specific mortality for 249 causes of death, 1980–2015: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2015". Lancet. 388 (10053): 1459–1544. doi:10.1016/s0140-6736(16)31012-1. PMC 5388903. PMID 27733281.

แหล่งข้อมูลอื่นแก้

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก
บทความวิกิพีเดียด้านการดูแลสุขภาพสามารถอ่านออฟไลน์ได้ทาง Medical Wikipedia app.

แม่แบบ:Varicella zoster

🔥 Top keywords: หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยอสมทพิเศษ:ค้นหาเห็ดขี้ควายนิโคลัส มิคเกลสันซน ฮึง-มินเฟซบุ๊กดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีลิโอเนล เมสซิวินัย ไกรบุตรต่อศักดิ์ สุขวิมลรุ่งนภา พงศ์ทิพย์สุคนธ์จักรภพ เพ็ญแขลิซ่า (แร็ปเปอร์)นนท์ อัลภาชน์จนกว่าจะได้รักกันสถิตย์พงษ์ สุขวิมลเรือนทาสพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวประเทศไทยสหรัฐFBสุภัคชญา ชาวคูเวียงประเทศจีนฟุตบอลทีมชาติไทยรายการรหัสไปรษณีย์ไทยรายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยคิม ซู-ฮย็อนศุภณัฏฐ์ เหมือนตาสงครามโลกครั้งที่สองรายชื่อจังหวัดของประเทศไทยเรียงตามพื้นที่ชาลี ไตรรัตน์ชัยวัฒน์ ชื่นโกสุมประเทศเวียดนามประเทศเกาหลีใต้ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2)คณาวุฒิ ไตรพิพัฒนพงษ์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)กรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลสัปเหร่อ (ภาพยนตร์)สุภโชค สารชาติพ.ศ. 2567ทวิตเตอร์มิสแกรนด์ไทยแลนด์ 2024ฟุตบอลทีมชาติอาร์เจนตินาฟุตบอลทีมชาติเกาหลีใต้รายชื่อโรงเรียนในกรุงเทพมหานครหอแต๋วแตก (ภาพยนตร์ชุด)ฟุตบอลโลกราชมังคลากีฬาสถานพิศณุ นิลกลัดเอ็กซูม่าประเทศบราซิลรายชื่อโรงเรียนในจังหวัดนนทบุรีภรภัทร ศรีขจรเดชาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชญีนา ซาลาสเจนี่ อัลภาชน์รายชื่อตอนในยอดนักสืบจิ๋วโคนัน (แอนิเมชัน)ฟุตบอลทีมชาติอังกฤษนวลพรรณ ล่ำซำอสุภเรวัช กลิ่นเกษรพ.ศ. 2565คริสเตียโน โรนัลโดภาษาอังกฤษลภัสลัล จิรเวชสุนทรกุลเจนี่ อัลภาชน์ ณ ป้อมเพชรประเทศลาวเก็จมณี วรรธนะสินกุลฑีรา ยอดช่างแจ็กสัน หวัง4 KINGS 2รายพระนามและชื่ออธิบดีกรมตำรวจและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติของไทยเฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์ประเทศญี่ปุ่นคุณอาเรียโต๊ะข้างๆ พูดรัสเซียหวานใส่ซะหัวใจจะวายราชวงศ์จักรีฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024อี คัง-อินวชิรวิชญ์ ชีวอารีทักษิณ ชินวัตรสินจัย เปล่งพานิชประเทศกัมพูชาอุษามณี ไวทยานนท์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดอาณาจักรอยุธยาขอบตาแพะหัวใจไม่มีปลอมฐสิษฐ์ สินคณาวิวัฒน์รัญชน์รวี เอื้อกูลวราวัตรวรกมล ชาเตอร์ธิษะณา ชุณหะวัณ