คัตสึโดชาชิง

คัตสึโดชาชิง (ญี่ปุ่น: 活動写真โรมาจิKatsudō Shashin; "ภาพเคลื่อนไหว") หรือบางครั้งเรียกว่า ชิ้นส่วนมัตสึโมโตะ เป็นฟิล์มสตริปภาพเคลื่อนไหวญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผลงานอนิเมะญี่ปุ่นที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่ทราบ โดยไม่ปรากฏชื่อผู้สร้างผลงาน หลักฐานบ่งชี้ว่าสร้างขึ้นก่อน ค.ศ. 1912 ดังนั้นฟิล์มสตริปชิ้นนี้อาจมีมาก่อนการจัดแสดงภาพยนตร์การ์ตูนของตะวันตกในญี่ปุ่น โดยมีการค้นพบ คัตสึโดชาชิง ในชุดสะสมภาพยนตร์และเครื่องฉายในเกียวโตเมื่อ ค.ศ. 2005

เฟรมหนึ่งของ คัตสึโดชาชิง ซึ่งมีความยาว 3 วินาที ไม่ทราบผู้สร้างและวันที่สร้าง

ฟิล์มสตริปความยาวสามวินาทีแสดงให้เห็นเด็กผู้ชายเขียนคำว่า "活動写真" จากนั้นถอดหมวกแล้วโค้งคำนับ โดยใช้อุปกรณ์สำหรับทำสไลด์โคมไฟวิเศษในการพิมพ์ฉลุเฟรมด้วยสีแดงและสีดำ และยึดฟิล์มสตริปให้เป็นวงเพื่อให้สามารถเล่นได้ต่อเนื่อง

ลักษณะแก้

คัตสึโดชาชิง

คัตสึโดชาชิง ประกอบด้วยชุดของภาพการ์ตูนบนแถบเซลลูลอยด์ห้าสิบเฟรม มีความยาวสามวินาทีที่สิบหกเฟรมต่อวินาที[1] ฟิล์มสตริปแสดงเด็กชายในชุดกะลาสีเขียนตัวอักษรคันจิ "活動写真" (katsudō shashin, "ภาพเคลื่อนไหว") จากขวาไปซ้าย จากนั้นหมุนตัวมาทางผู้ชม ถอดหมวก แล้วคำนับ[1] คัตสึโดชาชิง เป็นชื่อชั่วคราว ด้วยไม่ทราบชื่อที่แท้จริง[2]

งานชิ้นนี้มีความแตกต่างกับแอนิเมชันดั้งเดิมตรงที่เฟรมไม่ได้ผลิตด้วยวิธีการบันทึกภาพ แต่ใช้การพิมพ์ฉลุฟิล์ม[3] โดยใช้ คัปปะ-บัง[a] ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำหรับพิมพ์ฉลุสไลด์โคมไฟวิเศษ ภาพเป็นสีแดงและดำบนแถบภาพยนตร์ขนาด 35 มม.[b][4] โดยส่วนท้ายยึดติดกันเพื่อการเล่นที่ต่อเนื่อง[5]

ภูมิหลังแก้

ภาพยนตร์แอนิเมชันภาพพิมพ์ในยุคเริ่มแรกสำหรับเป็นของเล่นทางสายตา เช่น โซอิโทรป มีมาก่อนแอนิเมชันที่ใช้เครื่องฉาย เกอบรือเดอร์บิงซึ่งเป็นผู้ผลิตของเล่นเยอรมันนำเสนอเครื่องฉายที่เทศกาลของเล่นในเนือร์นแบร์คเมื่อ ค.ศ. 1898 ไม่นานนักผู้ผลิตของเล่นรายอื่นก็ขายเครื่องมือที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน[6] การสร้างภาพยนตร์ที่ใช้คนแสดงจริงสำหรับเครื่องฉายดังกล่าวมีราคาสูง ส่วนภาพยนตร์แอนิเมชันสำหรับเครื่องมือเหล่านี้มีวางขายอย่างเร็วที่สุดน่าจะใน ค.ศ. 1898 โดยสามารถยึดเป็นวงเพื่อการรับชมอย่างต่อเนื่อง[7] การนำเข้าเครื่องฉายจากเยอรมนีเข้าสู่ญี่ปุ่นเกิดขึ้นอย่างเร็วที่สุดใน ค.ศ. 1904[8] โดยฟิล์มมักจะมีภาพเคลื่อนไหวที่วนกลับมาภาพเดิม[9]

ผลงานอนิเมะญี่ปุ่น เช่น นามากูระกาตานะ ของจุงอิจิ โคอูจิ เริ่มออกฉายในโรงภาพยนตร์ใน ค.ศ. 1917

เทคโนโลยีการฉายภาพยนตร์จากตะวันตกเข้ามาในญี่ปุ่นในช่วง ค.ศ. 1896–1897[10] การฉายแอนิเมชันต่างชาติครั้งแรก ๆ ในโรงภาพยนตร์ญี่ปุ่นที่สามารถระบุวันที่ได้แน่ชัดได้แก่เรื่อง เลแซ็กซ์ปลัวเดอเฟอฟอแล[c] (ค.ศ. 1911) ของเอมีล โกล นักวาดภาพแอนิเมชันฝรั่งเศส ซึ่งฉายรอบปฐมทัศน์ในโตเกียวเมื่อวันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1912 สำหรับภาพยนตร์แอนิเมชันญี่ปุ่นเรื่องแรกที่ได้ฉายในโรงภาพยนตร์เป็นผลงานของโอเต็ง ชิโมกาวะ, เซอิตาโร คิตายามะ และจุงอิจิ โคอูจิ ใน ค.ศ. 1917[11] แม้ฟิล์มจะสูญหาย แต่มีการค้นพบบางส่วนในฉบับ "ภาพยนตร์ของเล่น"[d] สำหรับการรับชมที่บ้านด้วยเครื่องฉายมือหมุน ภาพยนตร์ที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังคงอยู่ได้แก่ ฮานาวะ เฮโกไน เมโต โนะ มากิ[e] (1917) หรือเป็นที่รู้จักในชื่อว่า นามากูระกาตานะ[12]

การค้นพบอีกครั้งแก้

ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2004 พ่อค้ามือสองในเกียวโตติดต่อนัตสึกิ มัตสึโมโตะ[f][3] ผู้เชี่ยวชาญด้านประติมานวิทยาจากมหาวิทยาลัยศิลปะโอซากา[13] พ่อค้าได้รับชุดสะสมฟิล์มและเครื่องฉายจากครอบครัวเก่าแก่ในเกียวโต และมัตสึโมโตะมารับของสะสมเหล่านี้ในเดือนถัดไป[3] ชุดสะสมเหล่านี้ประกอบด้วยเครื่องฉาย 3 เครื่อง, ฟิล์ม 35 มม. 11 ชิ้น และสไลด์โคมไฟวิเศษ 11 ชิ้น[3]

เมื่อมัตสึโมโตะค้นพบ คัตสึโดชาชิง ในชุดสะสม[13] ฟิล์มสตริปอยู่ในสภาพที่แย่[14] ในชุดสะสมมีฟิล์มสตริปแอนิเมชันแบบตะวันตกสามชิ้น โดย คัตสึโดชาชิง อาจผลิตขึ้นด้วยการเลียนแบบจากตัวอย่างของแอนิเมชันเยอรมันหรือประเทศตะวันตกอื่น[15] หากพิจารณาจากหลักฐาน เช่น วันที่ผลิตที่เป็นไปได้ของเครื่องฉายในชุดสะสม มัตสึโมโตะและนักประวัติศาสตร์แอนิเมชันอย่างโนบูยูกิ สึงาตะ[g] คาดว่าภาพยนตร์นี้น่าจะสร้างขึ้นในช่วงปลายยุคเมจิซึ่งสิ้นสุดใน ค.ศ. 1912[h][16] นักประวัติศาสตร์อย่างเฟรเดริก เอส. ลิตเติน เสนอแนะว่าน่าจะสร้างเมื่อประมาณ ค.ศ. 1907[2] และ "ปีที่สร้างไม่น่าก่อน ค.ศ. 1905 และไม่น่าหลัง ค.ศ. 1912"[9] ด้วยในช่วงเวลานั้นโรงภาพยนตร์หาได้ยากในประเทศญี่ปุ่น[5] หลักฐานจึงชี้ได้ว่ามีการผลิต คัตสึโดชาชิง ออกมาจำนวนมากเพื่อขายให้แก่คนร่ำรวยที่เป็นเจ้าของเครื่องฉายใช้ในบ้าน[17] ขณะนี้ยังไม่ปรากฏชื่อผู้สร้าง[13] ในความเห็นของมัตสึโมโตะนั้น คุณภาพที่ค่อนข้างแย่และเทคนิคการพิมพ์ระดับต่ำบ่งชี้ว่า คัตสึโดชาชิง น่าจะมีที่มาจากบริษัทขนาดเล็ก[9]

การค้นพบครั้งนี้ได้รับการกล่าวถึงอย่างกว้างขวางในสื่อญี่ปุ่น[3] เมื่อพิจารณาปีที่สร้างตามที่ได้คาดกันไว้ ภาพยนตร์ชิ้นนี้อาจเกิดขึ้นร่วมสมัยหรืออาจเกิดขึ้นก่อนงานแอนิเมชันของโกลและนักแอนิเมชันชาวอเมริกันอย่างเจ. สจวร์ต แบล็กตัน และวินซอร์ แม็กเคย์ หนังสือพิมพ์ อาซาฮีชิมบุง ยอมรับในความสำคัญของการค้นพบแอนิเมชันสมัยเมจิ แต่ยังแสดงความกังขาต่อการจัดให้ภาพยนตร์ชิ้นนี้อยู่ในกลุ่มแอนิเมชันญี่ปุ่น โดยเขียนไว้ว่า "มีข้อถกเถียงว่า [คัตสึโดชาชิง] ควรจะถูกเรียกว่าแอนิเมชันในความเข้าใจร่วมสมัยหรือไม่"[14]

เชิงอรรถแก้

  1. 合羽版 kappa-ban; กระบวนการพิมพ์เรียกว่า คัปปะ-ซูริ (合羽刷り)
  2. ฟิล์มสตริปหดตัวลงมาเหลือเพียง 33.5 มม.[2]
  3. ฝรั่งเศส: Les Exploits de Feu Follet; อังกฤษ: The Nipper's Transformations; ญี่ปุ่น: ニッパルの変形 Nipparu no Henkei
  4. 玩具 กังงุ
  5. 塙凹内名刀之巻 Hanawa Hekonai meitō no maki, "ม้วนภาพยนตร์ดาบที่เลื่องชื่อของฮานาวะ เฮโกไน"
  6. 松本 夏樹 Matsumoto Natsuki, เกิด ค.ศ. 1952
  7. 津堅 信之 Tsugata Nobuyuki, เกิด ค.ศ. 1968
  8. ยุคเมจิกินเวลาตั้งแต่ ค.ศ. 1868 ถึง 1912

อ้างอิงแก้

งานอ้างอิงแก้

  • Anime News Network staff (7 August 2005). "Oldest Anime Found". Anime News Network. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 February 2007. สืบค้นเมื่อ 12 February 2014.
  • Asahi Shimbun staff (1 August 2005). "Nihon saiko? Meiji jidai no anime firumu, Kyōto de hakken" 日本最古?明治時代のアニメフィルム、京都で発見 [Oldest in Japan? Meiji-period animated film discovered in Kyoto]. China People's Daily Online (Japanese Edition) (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 October 2007. สืบค้นเมื่อ 11 June 2014.
  • Clements, Jonathan; McCarthy, Helen (2006). The Anime Encyclopedia: A Guide to Japanese Animation Since 1917. Stone Bridge Press. ISBN 978-1-84576-500-2.
  • Litten, Frederick S. (2013). "Shōtai kenkyū nōto: Nihon no eigakan de jōei sareta saisho no (kaigai) animēshon eiga ni tsuite" 招待研究ノート:日本の映画館で上映された最初の(海外)アニメーション映画について [On the Earliest (Foreign) Animation Shown in Japanese Cinemas]. The Japanese Journal of Animation Studies (ภาษาญี่ปุ่น). 15 (1A): 27–32.
  • Litten, Frederick S. (17 June 2014). "Japanese color animation from ca. 1907 to 1945" (PDF). litten.de. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 14 July 2014. สืบค้นเมื่อ 18 June 2014.
  • López, Antonio (2012). "A New Perspective on the First Japanese Animation". Published proceedings‚ Confia‚ (International Conference on Illustration and Animation)‚ 29–30 Nov 2012. IPCA. pp. 579–586. ISBN 978-989-97567-6-2.
  • Matsumoto, Natsuki; Tsugata, Nobuyuki (2006). "Kokusan saikō to kangaerareru animēshon firumu no hakken ni tsuite" 国産最古と考えられるアニメーションフィルムの発見について [The discovery of supposedly oldest Japanese animation films]. Eizōgaku (ภาษาญี่ปุ่น) (76): 86–105. ISSN 0286-0279.
  • Matsumoto, Natsuki (2011). "映画渡来前後の家庭用映像機器" [Home movie equipment from the earliest days of film in Japan]. ใน Iwamoto, Kenji (บ.ก.). Nihon eiga no tanjō 日本映画の誕生 [Birth of Japanese film] (ภาษาญี่ปุ่น). Shinwa-sha. pp. 95–128. ISBN 978-4-86405-029-6.

แหล่งข้อมูลอื่นแก้

🔥 Top keywords: หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยอสมทพิเศษ:ค้นหาเห็ดขี้ควายนิโคลัส มิคเกลสันซน ฮึง-มินเฟซบุ๊กดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีลิโอเนล เมสซิวินัย ไกรบุตรต่อศักดิ์ สุขวิมลรุ่งนภา พงศ์ทิพย์สุคนธ์จักรภพ เพ็ญแขลิซ่า (แร็ปเปอร์)นนท์ อัลภาชน์จนกว่าจะได้รักกันสถิตย์พงษ์ สุขวิมลเรือนทาสพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวประเทศไทยสหรัฐFBสุภัคชญา ชาวคูเวียงประเทศจีนฟุตบอลทีมชาติไทยรายการรหัสไปรษณีย์ไทยรายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยคิม ซู-ฮย็อนศุภณัฏฐ์ เหมือนตาสงครามโลกครั้งที่สองรายชื่อจังหวัดของประเทศไทยเรียงตามพื้นที่ชาลี ไตรรัตน์ชัยวัฒน์ ชื่นโกสุมประเทศเวียดนามประเทศเกาหลีใต้ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2)คณาวุฒิ ไตรพิพัฒนพงษ์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)กรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลสัปเหร่อ (ภาพยนตร์)สุภโชค สารชาติพ.ศ. 2567ทวิตเตอร์มิสแกรนด์ไทยแลนด์ 2024ฟุตบอลทีมชาติอาร์เจนตินาฟุตบอลทีมชาติเกาหลีใต้รายชื่อโรงเรียนในกรุงเทพมหานครหอแต๋วแตก (ภาพยนตร์ชุด)ฟุตบอลโลกราชมังคลากีฬาสถานพิศณุ นิลกลัดเอ็กซูม่าประเทศบราซิลรายชื่อโรงเรียนในจังหวัดนนทบุรีภรภัทร ศรีขจรเดชาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชญีนา ซาลาสเจนี่ อัลภาชน์รายชื่อตอนในยอดนักสืบจิ๋วโคนัน (แอนิเมชัน)ฟุตบอลทีมชาติอังกฤษนวลพรรณ ล่ำซำอสุภเรวัช กลิ่นเกษรพ.ศ. 2565คริสเตียโน โรนัลโดภาษาอังกฤษลภัสลัล จิรเวชสุนทรกุลเจนี่ อัลภาชน์ ณ ป้อมเพชรประเทศลาวเก็จมณี วรรธนะสินกุลฑีรา ยอดช่างแจ็กสัน หวัง4 KINGS 2รายพระนามและชื่ออธิบดีกรมตำรวจและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติของไทยเฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์ประเทศญี่ปุ่นคุณอาเรียโต๊ะข้างๆ พูดรัสเซียหวานใส่ซะหัวใจจะวายราชวงศ์จักรีฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024อี คัง-อินวชิรวิชญ์ ชีวอารีทักษิณ ชินวัตรสินจัย เปล่งพานิชประเทศกัมพูชาอุษามณี ไวทยานนท์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดอาณาจักรอยุธยาขอบตาแพะหัวใจไม่มีปลอมฐสิษฐ์ สินคณาวิวัฒน์รัญชน์รวี เอื้อกูลวราวัตรวรกมล ชาเตอร์ธิษะณา ชุณหะวัณ